6.07.2554

รวบรวมปัญหาในการเลี้ยงดูเด็ก

A.ภาวะปกติ:
1.1เด็กสะอึก เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิดถึงอายุ4-5เดือนมักเป็นหลังกินนมแก้ไขโดยให้ดูดน้ำหรือนมเร็วเร็วการสะอึกจะน้อยลงแล้วหายไปเอง การสะอึกจะน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้นจนหายไปเอง
1.2เด็กสำรอกนม,อาเจียน เด็กมักจะมีการสำรอกนมได้บ้างหลังวกินนมประมาณ1 ชม.เป็นนมที่ยังย่อยไม่เสร็จเป็นก้อนเล็กๆปนกับนำนมปริมาณไม่มากซึ่งไม่ใช่ภาวะผิดปกติไม่ต้องวิตกกังวล  แต่ในทารกบางคนอาจมีการอาเจียนหลังกินนมทันทีซึ่งมีหลายสาเหตุ คือ 1 กินนมมากเกินไป เช่นลูกร้องเมื่อไหร่ให้กินนมทุกครั้งการที่ลูกร้องอาจไม่หิวก็ได้  นมล้นกระเพาะอาหารเด็กก็อาเจียนออกมาได้  2 ภาวะการไหลย้อนกลับของนมเนื่องจากหูรูดระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารเจริญไม่เต็มที่ ภาวะนี้ถ้าอาเจียนเล็กน้อยเด็กกินนมต่อได้ เจริญเติบโตดีไม่จำเป็นต้องให้ยา วิธีแก้ไขคือ
ให้ลูกนอนหัวสูงเวลาให้นม หลังกินนมเสร็จอย่าเพิ่งจับเรอให้ลูกนอนนิ่งที่สุด ให้ลูกกินนมทีละน้อยแต่กินบ่อยให้อาหารเสริมเร็วที่อายุ3 เดือน อาหารหนักท้องเด็กจะไม่อาเจียน ภาวะนี้จะดีขึ้นตามวัย และหายได้เมื่ออายุ4-7 เดือน3.ภาวะการอุดตันของกระเพาะอาหาร  เด็กจะอาเจียนพุ่ง นำหนักลด ผอมลง ถ้าเด็กอาเจียนมากและเลี้ยงไม่โตครปรึกษาแพทย์
1.3เด็กถ่ายอุจจาระบ่อย จากการกินนมแม่ เด็กที่กินนมแม่อุจจาระจะมีสีเหลืองทอง เละเละอาจมีนำปนเล็กน้อย ในช่วงอายุ 1-2 เดือนแรกจะถ่ายบ่อย 5-6ครั้ง/วันหลังจากนั้นจะถ่ายลดลงเหลือ 1-2 ครั้ง/วัน ถ้าลูกกินนมแม่แล้วถ่ายลักษณะนี้ไม่ต้องกังวลใจ
1.4ภาวะรูก้นเป็นแผล[Anal Fissure] เนื่องจากเด็กเล็กมีการถ่ายบ่อยเกิดการระคายเคืองทำให้รอบรอบรูก้นเป็นแผลได้ทำให้เกิดปัญหาท้องผูกตามมาเพราะลูกเจ็บแผลจึงไม่ยอมเบ่งถ่าย วิธีป้องกันคือ ใช้วาสลินทาบริเวณรูก้นให้ลูกหลังทำความสะอาดทุกครั้งแต่ถ้าก้นเป็นแผลแล้วควรปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาทาลดการอักเสบและรักษาแผล

1.5ภาวะคัดจมูกในทารกเด็กทารกจะมีน้ำมูกในจมูกออกมาทุกวัน ควรเช็ดน้ำมูกให้ลูกหลังอาบน้ำเช้า-เย็นโดยใช้ไม้พันสำลีหรือกระดาษทิชชู่ม้วนเล็กๆเช็ดให้ลูกเบาๆระวังไม้กระแทกจมูกลูกลูกจะเจ็บต่อไปอาจไม่ยอมให้ทำอีก
1.6ภาวะร้อง 3 เดือนหรือการปวดท้องโคลิก ภาวะนี้อาจเกิดหลังจากออกจากโรงพยาบาลหรือเมื่ออายุ3-4 สัปดาห์เด็กจะร้องตอนหัวค่ำ ร้องเป็นพักๆนาน 1-3 ชั่วโมง ภาวะนี้เชื่อว่าเกิดจากเด็กมีการปวดท้องเมื่อลำไส้บีบตํวเด็กจะร้องเป็นพักๆอาจเนื่องจากลำไส้ของเด็กยังเจริญไม่เต็มที่ วิธีแก้ไข ควรอุ้มทารกพาดบ่า ปลอบโยนลูก อาจให้ญาติผู้ใหญ่ช่วยอุ้ม อย่าเครียดเพราะเด็กจะรับรู้และยิ่งร้องมาก ถ้าอุ้มเดินแล้วเด็กร้องน้อยลงจนหลับได้ก็ไม่ต้องให้ยาแต่ถ้าร้องมากอาจให้ยาแก้ท้องอืด กล่มยา SIMETICON เด็กจะสบายขึ้นแต่ในรายที่ร้องมากอาจต้องให้ยาแก้ปวดท้องซึ่งต้องใช้ด้วยความระมัดระวังควรปรึกษาแพทย์
1.7การมีตกขาวหรือเลือดออกทางช่องคลอดชั่วคราวในทารกแรกเกิดตั้งแต่ลูกอยู่ในท้องจะได้รับฮอร์โมนเพศหญิงจากแม่ ฮอร์โมนนี้ทำให้มดลูกในเด็กผู้หญิงหนาตัว เมื่อเด็กคลอดออกมาฮอร์โมนจากแม่ลดลงอย่างรวดเร็วผนังมดลูกจะลอกตัวจึงมีเลอดออกทางช่อง ส่วนตกขาวและอวัยวะเพศบวมก็เกิดจากฮอร์โมนจากแม่เช่นกันเมื่อฮอร์โมนหมด ภาวะต่างๆเหล่านี้ก็จะหายไป


B.ภาวะผิดปกติ 
2.1 สะดืออักเสบ สายสะดือจะถูกตัดออกเมื่อลูกคลอดเหลือยาวประมาณ5 ซม. ควรเช็ดสะดือให้แห้งหลังอาบน้ำ เช็ดวันละ 2 ครั้งด้วยอัลกอฮอล์ เช้า เย็น เช็ดให้ถึงโคนไม่ต้องกลัวลูกเจ็บเวลาเช็ดสะดือลูกอาจจะร้องบ้างเพราะรู้สึกรำคาญแต่ลูกจะไม่เจ็บถ้าเช็ดสะดือดี จะหลุดภายใน7-10 วันแต่ถ้าเช็ดไม่สะอาด สะดือจะแฉะ อ้กเสบ ติดเชื้อ หลุดช้า ในบางรายการติดเชื้อรุกลามเข้ากระแสเลือดเป็นอันตราย
2.2ทารกนอนมากเกินไป ทารกปกตินอนวันละ 20-22 ชั่วโมง และจะตื่นมาร้องกินนมวันละ8 มื้อ ถ้าทารกนอนมากเกินไป ไม่ตื่นมาร้องกินนมภายใน4-5 ชั่วโมงถือว่าผิดปกติควรพบแพทย์หาสาเหตุ ภาวะที่ทำให้เด็กมีอาการดังกล่าว เช่น
ภาวะฮอร์โมนทัยรอยด์ในเลือดต่ำ ตัวเหลืองมากเกิน การติดเชื้อ เป็นต้น
2.3ถุงน้ำตาอักเสบ เกิดจากการอุดตันของท่อน้ำตา พบได้บ่อยในทารกตั้งแต่แรกเกิด เด็กจะมีน้ำตาไหลคลอตาข้างที่มีการอุดตัน อาจมีการอักเสบติดเชื้อมีขี้ตามาก วิธีแก้ไข ใช้นิ้วก้อยนวดหัวตาด้านจมูกโดยกดเบาๆจากหัวตาลงสู่จมูก20-30/ครั้ง วันละ 2-3 รอบ ใช้เวลา2-3 เดือนท่อนำตาจะเปิดเอง ถ้าอายุ10เดือนท่อน้ำตายังไม่เปิดจำเป็นต้องพบหมอตาเพื่อพิจารณาแยงท่อน้ำตาให้เปิด
2.4ภาวะคอเอียง เกิดจากกลามเนื้อด้านหนึ่งมีการหดตัวมากกว่าปกติวิธีแก้ไขให้จับลูกนอนหันไปทางด้านที่กล้ามเนื้อหดตัวเพื่อให้กล้ามเนื้อยืดออก ทำทุกวัน ค้างไว้ 10วินาทีคอลูกจะกลับมาตรงได้ถ้าภายใน 6 เดือนไม่ดีขึ้นต้องรักษาโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อ
2.5มีเชื้อราในปากลักษณะเป็นคราบสีขาวหนาที่ลิ้น กระพุ้งแก้ม อาจทำให้เด็กเจ็บและกินนมน้อยลง สาเหตุเกิดจากหลังกินนมจะมีนมเหลือค้างในปากทำให้เชื้อราเติบโต แก้ไขโดยหลังกินนมทุกครั้ง(โดยเฉพาะนมกระป๋อง)ควรให้ลูกกินน้ำเปล่าเล็กน้อยเพื่อล้างปาก  ถ้าเป็นมากควรพบแพทย์เพื่อให้ยารักษาเชื้อรา
2.5ผื่นแพ้ผ้าอ้อม เด็กบางคนเมื่อใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปอาจแพ้เป็นผื่นแดงบริเวณที่สัมผัสผ้าอ้อม วิธีแก้ไขควรทาวาสลีนก่อนใส่ผ้าอ้อมให้ลูกทุกครั้ง ถ้าแพ้มากอาจต้องใช้ยาแก้แพ้ทาเด็กวัย 3  เดือนแรกนอนไม่ดิ้น กลางวันไม่ควรใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปให้ใช้ผ้ายางปูใช้ผ้าอ้อมปูทับถ้าลูกขับถ่ายให้แช่ผ้าอ้อมในน้ำแล้วซัก กลางคืนค่อยใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป


...................................................................
รวมบทความแก้ปัญหานมไม่พอ   

ปัญหานมน้อย นมไม่พอ เป็นปัญหาใหญ่ที่สุดที่ทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ประสบความสำเร็จ  บทความทั้งหมดในเว็บนี้เรียกได้ว่าเกินกว่าครึ่งที่มีความเกี่ยวพันกับการแก้ปัญหานมไม่พอ  เวลาที่มีใครสักคนต้องการความช่วยเหลือกเกี่ยวกับปัญหานมไม่พอนี้ ไม่ว่าจะโดย การตั้งกระทู้ หรือเมล์มาถามโดยตรงนั้น ขอบอกว่าเป็นเรื่องลำบากทีเดียวที่จะตอบให้ได้ภายในไม่กี่บรรทัด  เพราะคำว่า"นมน้อย" หรือ "นมไม่พอ" ของแต่ละคนนั้น เวลาพูดเหมือนจะเป็นปัญหาเดียวกัน  แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน  สาเหตุและวิธีแก้ไขก็แตกต่างกัน

ที่ผ่านมามักจะเลือกบทความที่เกี่ยวข้อง แล้วให้ไปอ่านกันเอง แต่พอนานๆ เข้าก็พบว่า บทความทั้งหลายมันกระจัดกระจาย ยากแก่การเข้าถึง เลยขอนำบทความทั้งหมดมารวบรวมและจัดหมวดหมู่ใหม่ เพื่อให้แม่ที่มีปัญหานมไม่พอ ได้หาอ่านกันอย่างง่ายขึ้น

คุณแม่ที่กำลังคิดว่าตัวเองนมน้อย นมไม่พอ ขอให้พิมพ์บทความ ทั้งหมด ข้างล่างนี้ แล้วใช้ความพยายามในการ ตั้งใจ อ่านให้ดีนะคะ  จะได้เข้าใจและรู้ว่าควรจะต้องแก้ไขอย่างไร  ขอเตือนว่าการเลือกอ่านเฉพาะบางเรื่อง บางหัวข้อ อย่างเช่น "อาหารเพิ่มน้ำนม" นั้น ไม่สามารถช่วยให้นมแม่เพิ่มขึ้นได้อย่างที่ใจต้องการ  ความเข้าใจในสาเหตุและปัญหาโดยรวมเท่านั้นค่ะ  ถึงจะช่วยให้การแก้ปัญหาง่ายขึ้น   



1.นมไม่พอจริงหรือไม่ : อ่านเพื่อทำความเข้าใจในเบื้องต้นว่าตัวเรามีปัญหานมไม่พอจริงๆ หรือเข้าใจผิด
2.เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตน้ำนมและสาเหตุของปัญหานมไม่พอ
3.วิธีการแก้ปัญหาต่างๆ

4.รวบรวมประสบการณ์จริงของแม่ที่เคยมีปัญหานมไม่พอและแก้ไขได้ในที่สุด 
...................................................................

ปัญหาของเด็กอนุบาล 3 – 5 ปี  ที่พบบ่อยและแนวทางแก้ไข

          ปัญหาที่พบบ่อยในเด็กอนุบาลเป็นปัญหาที่รบกวนการเรียนของเด็กและทำให้ครูรู้สึกลำบากใจ  เนื่องจากเด็กไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้เพราะมีข้อจำกัดเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ครูอาจต้องเฝ้าระวังและให้ความสนใจเป็นพิเศษเพราะเป็นสิ่งที่ขัดขวางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และสติปัญญาของเด็ก  สาเหตุสำคัญของของปัญหามาจากการเลี้ยงดูและการปลูกฝังตั้งแต่ในวัยก่อนเข้าเรียน  ซึ่งครูจำเป็นต้องเข้าใจและหาแนวทางแก้ไข

1. ขี้อาย  เป็นอาการที่พบบ่อยได้ในเด็กทั้งก่อนวัยเรียนและเด็กวัยอนุบาล  โดยลักษณะของเด็กขี้อาย  เช่ย  เวลาซ้อมการแสดงจะทำได้ดี  แต่เมื่อแสดงต่อหน้าผู้คนจะไม่สามารถทำได้  เนื่องจากอายไม่กล้า  ซึ่งทำให้ครูรู้สึกลำบากใจการในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กเหล่านี้  สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากเด็กที่อยู่ในครอบครัวเล็ก ๆ มีเฉพาะพ่อ  แม่  พี่เลี้ยง  ห่วงเด็กมาก  ทำให้เด็กไม่มีทักษะทางสังคม  ไม้กล้าแสดงออก  อีกทั้งไม่มีโอกาสที่จะได้เล่นกับเพื่อนเนื่องจากพ่อแม่ที่ปกป้องมากเกินไป  เด็กไม่รู้จักรับผิดชอบงานต่าง ๆ ไม่มั่นใจ  ไม่กล้าทำสิ่งต่าง ๆ นอกจากนี้การเลี้ยงดูอย่างเร่งรัดเกินวัย  ทำให้เด็กไม่พร้อม  เกิดความกังวลใจ  หวั่นใจ  และไม่แน่ใจในการกระทำของตนเองและที่สำคัญคือการที่เด็กได้ถูกล้อเลียนจากเพื่อนเช่น  พูดไม่ชัดทั้ง ๆ ที่สติปัญญาดี  แต่ผลการเรียนไม่ดี   เพราะวิตกกังวลในเรื่องการถูกล้อเลียน         
         แนวทางแก้ไข  ให้เด็กได่มีโอกาสเล่นกับเพื่อนบ่อย ๆ ไม่จ้องดูและไม่กำกับการเล่น  พยายามอย่ากดดันให้เด็กทำสิ่งใดที่เกินวุฒิภาวะและพัฒนาการของเขา  และไม่ควรล้อเลียนในจุดด้วยของเด็ก  ให้เด็กฝึกรู้จักรับผิดชอบทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง  ทำการบ้าน  ช่วยเหลือครูในสิ่งที่สามารถทำได้

2.  ดื้อเอาแต่ใจ  ต้องการให้ตอบสนองแต่ความต้องการของตนเอง  เมื่อเติบโตขึ้นจะกลายเป็นคนเห็นแก่ตัว  ไม่มีน้ำใจ  สาเหตุจากพ่อแม่ที่รักและเอาใจลูกมากิเกินไป  หรือเด็กเป็นลูกคนเล็ก  ลูกคนเดียว  เมื่อเข้าโรงเรียนทำให้เด็กเห็นแก่ตัวและเอาแต่ใจตนเอง         
         แนวทางแก้ไข  ให้เด็กได้มีโอกาสตัดสินใจในการเล่น  มีกิจกรรมทั้งที่เป็นผู้นำและผู้ตามเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ว่า  ไม่สามารถยึดถือความคิดของตนเองเพียงฝ่ายเดียว  มีการตั้งกฏกติกาในการทำกิจกรรมและการเล่นที่ชัดเจน  หากทำผิดกฏจะมีการถูกลงโทษ

3.  ขี้เกียจ  ไม่รับผิดชอบ  มีสาเหตุมาจากพ่อแม่ที่ตามใจลูฏและช่วยทำทุกสิ่งทุกอย่างจนเด็กไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้  พ่อแม่มีความกังวลและห่วงลูกมากเกินไป  ไม่ให้ลูกช่วยเหลืองานต่าง ๆ ทีเด็กสามารถทำได้คิดแทนลูกในทุกเรื่อง
          แนวทางแก้ไข  ให้เด็กได้มีโอกาสในการช่วยเหลือตนเองโดยไม่ขัดขวางธรรมชาติความเป็นตัวของตัวเอง  เช่นเด็กอยากเล่นของเล่นที่โรงเรียนไม่ควรขัดขวางเพื่อให้เด็กได้มีอิสระในการคิดมากกว่าที่พ่อแม่ต้องคิดให้ตลอดเวลา  นอกจากนั้นควรมีกิจกรรมเสริมสร้างความเป็นตัวของตัวเอง  เช่น  ให้เด็กกำหนดการลงโทษเมื่อเล่นหรือทำผิดกติกา  ให้เด็กได้

รับผิดชอบงานที่สามารถทำได้  อาจเป็นการช่วยเหลือครู  เช่น  ช่วยยกหนังสือ  ช่วยแจกสมุดการบ้านให้เพื่อน  ช่วยจัดเวร  รายงานชื่อเพื่อนที่ไม่มาโรงเรียน

4. ขยิบตา  เป็นอาการของเด็กในช่วงวัยอนุบาลที่ไม่สามารถควบคุมได้  โดยเด็กจะแสดงอาการกะพริบตาถี่บ่อย ๆ บางคนขยับมุมปากอาการเหล่านี้ไม่ใช่โรคติดต่อ  สาเหตุเกิดจากความเครียด  พันธุกรรมและสารเคมีบางอย่างในสมองผิดปกติ
          แนวทางแก้ไข    พยายามไม่สร้างความเครียดให้กับเด็ก  เพราะที่โรงเรียนเด็กอาจมีความเครียด  เช่น  เรื่องการเรียน  ความสัมพันธ์กับครู  ความสัมพันธ์กับเพื่อน  นอกจากนี้ไม่ควรย้ำถาม  หรือบังคับให้เด็กหยุดทำอาการขยิบตา  ให้เด็กได้มีโอกาสระบายอารมณ์หรือแสดงอารมณ์บ้าง  แต่มีอาการอยู่ตลอด 2 – 3 เดือน  แล้วยังไม่ดีขึ้นควรพาเด็กไปพบจิตแพทย์ 

5. ร้องกรี๊ดแล้วดิ้น  เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตามปกติ  อาจเป็นเพราะด้วยวัยอนุบาลที่ยังเอาแต่ใจตนเองใช้ความรู้สึกของตนเองเป็นศูนย์กลาง  ไม่ค่อยมีเหตุผล  ภาษายังไม่พัฒนาเต็มที่จึงต้องแสดงออกด้วยท่าทางและพฤติกรรมอีกทั้งในเรื่องของพื้นฐานอารมณ์ของเด็กเช่น เด็กที่มีพื้นฐานอารมณ์ร้อนจะปรับตัวยากเลี้ยงยาก  ไม่พอใจจะแสดงอารมณ์ร้อนได้รุนแรงซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเรียนรู้         
          แนวทางแก้ไข  ครูต้องใช้หลักการเรียนรู้กับเด็กโดยถ้าเด็กเรียนรู้ว่าพฤติกรรมใดเป็นพฤติกรรมที่ได้ประโยชน์ต่อตนเอง  เช่นได้รับความสนใจ  เด็กจะร้องหรือนอนดิ้นโดยไม่มีเหตุผล  ให้เบี่ยงเบนความสนใจโดยใช้วิธีนี้ซ้ำ ๆ แล้วในที่สุดจะเลือกร้องหรือลงนอนดิ้นเอง  ถ้าเบี่ยงเบนความสนใจแล้วยังไม่ได้ผล  ให้เมินเฉย  ถ้าเด็กจะร้องแรงขึ้นไปอีก  ในที่สุดเขาก็จะรู้ว่าขืนร้องต่อไปก็ไม่สามารถเรียกร้องความสนใจจากเราได้  เมื่อหยุดร้องก็อธิบายให้เด็กฟังว่า  “คราวหน้าไม่ต้องร้อง  มีอะไรก็บอกครูได้”  อย่างไรก็ตามควรต่องระมัดระวัง  มิให้เด็กได้รับอันตรายในขณะที่นอนดิ้นบนพื้น
จากบทความนี้คงเป็นแนวทางหนึ่งให้ท่านผู้ปกครองนำไปใช้ในการแก้ปัญหากับเด็กอนุบาลวัย 3 – 5 ปีได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น